ReadyPlanet.com
dot


  [Help]
dot
dot
dot
1.เครื่องมือเกษตร
2.อุปกรณ์เกษตร
3.ปั๊มน้ำ
4.เครื่องมือไร้สาย แบตเตอรี่
5.เครื่องมืออุตสาหกรรม
6.เครื่องมือก่อสร้าง
7.เครื่องมือช่าง
8.เครื่องมือไฟฟ้า
9.โคมไฟส่องสว่าง
10.เคมีภัณฑ์
11.อุปกรณ์ช่าง
12.อะไหล่
13.อุปกรณ์เสริม
14.ชุดขับเคลื่อนเรือหางยาว-สั้น
15.เครื่องมือทดสอบงานโยธา
16.กล้องระดับ Auto Level
17.กล้องวัดมุม Theodolite
18.กล้อง Total Station
19.กล้องวัดมุม (กล้องมือสอง)
20.กล้อง Total Station (มือสอง)
21.เทปวัดระยะทาง Measuring Tapes
22.ล้อวัดระยะทาง Measuring Wheels
23.เครื่องวางแนวทำระดับเลเซอร์
24.เครื่องวัดระยะทางเลเซอร์
25.เข็มทิศ Compass
26.อุปกรณ์เครื่องมือสำรวจอื่นฯ (Accessories)
dot
dot
dot

dot


ID Line :@pspmart
You Tube pspmart
PSP MART
ติดตาม พีเอสพี มาร์ท บน facebook


เครื่องเชื่อมไฟฟ้าอินเวอร์เตอร์ระบบ IGBT 160 แอมป์ KENDE IN-275  
เครื่องเชื่อมไฟฟ้า 160 แอมป์ KENDE IN-275เครื่องเชื่อมไฟฟ้า 160 แอมป์ KENDE IN-275
รหัส : KENDE IN-275
ยี่ห้อ : KENDE
รุ่น : IN-275
ราคาปกติ :  3,900.00      
ราคาพิเศษ :  3,350.00
รายละเอียดย่อ :
แผงวงจรมีเคลือบน้ำยาอย่างดี ช่วยป้องกัน ละอองน้ำ,ความชื้น,ฝุ่นสัตว์ แมลงต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ที่ตู้เชื่อมทัั่วไปได้รับความเสียหาย สามารถใช้สายเชื่อมได้ยาวถึง 100 เมตร กรณีไฟตกถึง 130 โวลท์ เครื่องยังสามารถทำงานต่อเนื่องได้
รายละเอียดทั้งหมด :

เครื่องเชื่อมไฟฟ้าอินเวอร์เตอร์ 160 แอมป์ KENDE IN-275
คุณสมบัติพิเศษ
แผงวงจรมีเคลือบน้ำยาอย่างดี ช่วยป้องกัน ละอองน้ำ,ความชื้น,ฝุ่นสัตว์ แมลงต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ที่ตู้เชื่อมทัั่วไปได้รับความเสียหายหนัก
สามารถใช้สายเชื่อมได้ยาวถึง 100 เมตร กรณีไฟตกถึง 130 โวลท์ เครื่องยังสามารถทำงานต่อเนื่องได้ โดยเครื่องไม่ได้รับความเสียหายหนัก
ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ตู้เชื่อม KENDE (ระบบ IGBT) กินไฟน้อยและดึงโหลดจากเครื่องปั่นไฟน้อย จึงสามารถใช้ร่วมกับเครื่องปั่นไฟได้  ขนาด 5 กิโลวัตต์ ขึ้นไปได้
รับประกัน 2 ปี ตามเงื่อนไขผู้ผลิต) #KD-IN-275

เครื่องเชื่อมไฟฟ้า 160 แอมป์ KENDE IN-275

เครื่องเชื่อมไฟฟ้า 160 แอมป์ KENDE IN-275

เครื่องเชื่อม Inverter คืออะไร?
เครื่องเชื่อม Inverter 
หรือเครื่องเชื่อมไฟฟ้า (ARC/MMA) เป็นตู้เชื่อมที่เชื่อมเหล็กด้วยธูปเชื่อม สามารถเชื่อมได้ทั้งงานเหล็ก, สแตนเลส ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์บางรุ่นอาจเชื่อมอลูมิเนียมได้ ถ้าเป็นเครื่องที่มีกระแสเชื่อมสูงประมาณ 200 แอมป์ขึ้นไป เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวควบคุม และแปลงกระแสไฟฟ้า ซึ่งต่างจากเครื่องเชื่อมแบบดั้งเดิมที่ใช้หม้อแปลงขนาดใหญ่ โดย Inverter จะเปลี่ยนกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ให้เป็นกระแสตรง (DC) และสามารถปรับแรงดัน และกระแสไฟได้อย่างแม่นยำมากขึ้นนั่นเอง ส่งผลทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ทั่งประหยัดพลังงานมากกว่า เครื่องเชื่อม ประเภทอื่นๆ นอกจากนี้ Inverter ยังให้กระแสไฟที่เสถียร ส่งผลให้การเชื่อมมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

ระบบ IGBT ใน เครื่องเชื่อม คืออะไร?
IGBT (Insulated Gate Bipolar Transistor) เป็นทรานซิสเตอร์ที่ถูกพัฒนาเพื่อใช้ใน เครื่องเชื่อม Inverter ทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้าให้มีความเสถียรสูง IGBT เป็นการผสมผสานระหว่างคุณสมบัติของทรานซิสเตอร์สองประเภท คือ MOSFET ที่มีความเร็วสูง และ BJT ที่รองรับกำลังไฟฟ้าที่สูงได้ดี ทำให้ IGBT ทนต่อกระแสไฟสูงได้โดยมีการสูญเสียพลังงานน้อย รวมถึงปรับแรงดันไฟได้ละเอียด และคงที่ ส่งผลให้งานเชื่อมมีความราบรื่น นอกจากนี้เครื่องเชื่อมที่ใช้ระบบ IGBT ยังมีขนาดเล็กลง คงทนต่อการใช้งาน และประหยัดพลังงานมากกว่าเครื่องเชื่อมรุ่นเก่าอีกด้วย

ข้อดีของ เครื่องเชื่อม ระบบ IGBT

เครื่องเชื่อมระบบ IGBT (Insulated Gate Bipolar Transistor) ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในวงการช่างเชื่อม เนื่องจากมีข้อดีหลายประการที่ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานในหลายประเภทงาน
1. ประสิทธิภาพสูง - เครื่องเชื่อมที่ใช้ระบบ IGBT มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่สูง ลดการสูญเสียพลังงานในกระบวนการเชื่อม ทำให้สามารถเชื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้
2. ความเสถียร - IGBT สามารถควบคุมกระแสไฟฟ้าได้อย่างเสถียร ลดการกระเด็นของโลหะในระหว่างการเชื่อม ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
3. ขนาดเล็กและน้ำหนักเบา - ระบบ IGBT ช่วยให้เครื่องเชื่อมมีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา ทำให้สะดวกต่อการพกพาและใช้งานในสถานที่ต่าง ๆ
4. ทนทานต่อกระแสสูง - IGBT มีความสามารถในการจัดการกับกระแสไฟฟ้าสูงได้ดี จึงเหมาะสำหรับการเชื่อมโลหะหนาหรือวัสดุที่ต้องการพลังงานสูง
5. การปรับกระแสไฟได้แม่นยำ - ระบบ IGBT ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปรับกระแสไฟได้อย่างแม่นยำส่งผลให้การเชื่อมมีความละเอียดและคุณภาพสูง

สรุป
เครื่องเชื่อม Inverter ระบบ IGBT ได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะความทนทานและประสิทธิภาพที่เหนือกว่า โดยเฉพาะในงานที่ต้องการพลังงานสูงและความแม่นยำ ในขณะที่ระบบ MOSFET อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับงานเชื่อมทั่วไป ผู้ใช้งานควรเลือกเครื่องเชื่อมให้เหมาะสมกับลักษณะงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสรุปแล้วการเลือกเครื่องเชื่อมที่เหมาะสมควรพิจารณาจากความต้องการพลังงาน ความซับซ้อนของงาน และงบประมาณที่คุณมี

ประเภทตู้เชื่อม ที่ควรรู้จัก
1. เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA (Manual Metal Arc Welding หรือ SMAW) หรือเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้ความร้อนที่เกิดจากอาร์คระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Electrode) กับชิ้นงาน เป็นพลังงานในการเชื่อม โดยจะต้องต่อไฟตรงเข้าไปในตู้เพื่อสร้างพลังงานออกมา เครื่องเชื่อมประเภทนี้ได้รับความนิยมเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่ายและเหมาะสำหรับช่างมือใหม่หรือผู้ที่สนใจงานเชื่อมที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมโลหะ สามารถใช้เชื่อมเหล็ก สเตนเลส และอาจเชื่อมอะลูมิเนียมได้หากมีกระแสเชื่อมสูงประมาณ 200 แอมป์ขึ้นไป
2. เครื่องเชื่อมอาร์กอน หรือ เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW) เป็นเครื่องเชื่อมไฟฟ้าแบบใช้พลังงานจากอาร์กที่ใช้แท่งอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม โดยบริเวณบ่อหลอมจะมีแก๊สเฉื่อยปกคลุม เพื่อป้องกันบ่อหลอมจากการปนเปื้อนหรือการทําปฏิกิริยากับอากาศรอบข้างแก๊สเฉื่อยที่ใช้กันทั่วไปคืออาร์กอนหรือฮีเลียม เครื่องเชื่อมประเภทนี้สามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 แบบ ระบบเชื่อมอาร์กอน TIG ระบบเชื่อมธูป ระบบ AC ที่เราเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า ตู้เชื่อมระบบ AC/DC
ตู้เชื่อมอาร์กอนที่มี 2 ระบบ จะมีสวิตช์เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว (+) สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว (-)  แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ (-) และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก (+) แทน
3. เครื่องเชื่อม co2 (เครื่องเชื่อมคาร์บอน) หรือ เรียกกันในอีกชื่อว่า เครื่องเชื่อม mig ( Metal Inert Gas) หรือเครื่องเชื่อมมิก เป็นเครื่องเชื่อมที่สามารถใช้แก๊สคาร์บอนผสมเข้าไปเพื่อใช้ในการเชื่อม และไม่จำเป็นจะต้องป้อนลวดเข้าไปเหมือนเครื่องเชื่อมอาร์กอน เพราะมันสามารถป้อนเนื้อลวดลงบนที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่องได้
แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยนชนิดของโลหะที่ต้องการเชื่อม ก็จะต้องมีการเปลี่ยนท่อนำลวดเพื่อให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะอย่างมากสำหรับเหมาะกับโรงงานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เชื่อมโลหะจำนวนมาก หลากหลายรูปแบบ
4. เครื่องตัดพลาสมา (Plasma) เป็นตู้เชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ในการตัดโลหะ โดยจะต้องต่อกับปั๊มลมไฟฟ้า เพื่อส่งพลังงานที่มีความเร็วสูงไปที่ตรงหัวปืนตัดทําให้ลมกลายเป็นพลาสมา (Solid liquid gas plasma)ออกไปตัดชิ้นงาน
เครื่องตัดพลาสมาสามารถตัดชิ้นงานที่เป็นโลหะได้ทุกชนิดแต่ความหนาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดโลหะ เช่น ตัดเหล็กได้ความหนามากที่สุดรองลงมาคือสเตนเลสและอะลูมิเนียมตามลำดับ


จำนวน